วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(โสตทัศนูปกรณ์)
                สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio –visual equipments ) มีหน้าที่หลัก คือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอ้านวยความสะดวกในการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้นการน้าอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ความหมายของโสตทัศนูปกรณ์
                โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึงอุปกรณ์ที่มีลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องยนต์ กลไกลไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

                โสตทัศนูปกรณ์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Audio-Visual Equipments และมาจากคำประสมดังนี้
โสตะ (การได้ยิน)    +    ทัศนะ (การมองเห็น)    +    อุปกรณ์
                                   Audio                              Visual
ประเภทของสื่ออุปกรณ์
                สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
                1.เครื่องฉาย (Projectors)
                2.เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (connected Equipment)
                2.เครื่องเสียง (Amplifiers)

เครื่องฉาย
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงเครื่องฉายเครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector)  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายแอลซีดี (LCD projector) เครื่องฉายสไลด์ (slide projector) นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นต้น
1.ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
                เครื่องฉายทุกชนิดที่ไม่ใช่เครื่องฉายแปลงสัญญาณ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
                1.1หลอดฉาย (projectors lamp)
                                1.1.1 ประเภทของหลอดฉาย หลอดฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ให้ภาพไปปรากฏบนจอ หลอดฉายที่ใช้อยู่กันในปัจจุบันมี 3 ชนิด ได้แก่
                                                1) หลอดอินแคนเดสเซนต์ (incandescent lamp) เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ่ ภายในหลอดบรรจุด้วยไนโตรเจนหรืออาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตน ให้ความร้อนสูง อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้มีใช้อยู่ในเครื่องฉายรุ่นเก่าๆเท่านั้น
                                                2) หลอดฮาโลเจน (halogen lamp) มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ตัวหลอดทำด้วยหินควอร์ท(quartz)ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารฮาโลเจนและไอโอดีน ให้แสงสว่าง ขาวนวล สดใส อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 50 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้ใช้กับเครื่องฉายไลส์ เครื่องฉายภาพยนตร์ ไฟฉายวีดีทัศน์ เครื่องฉายข้ามศีรษะเป็นต้น
                                                3) หลอดซีนอนอาร์ค (zenon arc lamp) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรงกลางโปร่งออก ภายในบรรจุด้วยก๊าซซีนอน แสงสว่างเกิดจากอนุภาคของไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้นหนึ่ง ให้แสงสีขาวแรงจัดมาก หลอดชนิดนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทนแทนการอาร์คด้วยแท่งถ่านซึ่งต้องปรับระยะของถ่านชดเชยการสึกกร่อนอยู่ตลอดเวลา หลอดชนิดนี้ใช้กับฉายระยะใกล้ๆให้เห็นภาพขนาดใหญ่ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ 35.. หรือ 75.. เป็นต้น  



                   incandescent lamp                        quartz lamp                               halogen lamp  
ภาพแสดงภาพหลอดฉายชนิดต่างๆ
                                1.1.2 ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับหลอดฉาย การใช้หลอดฉายให้มีอายุการใช้งานนานตามคุณสมบัติเฉพาะของหลอดฉายแต่ละชนิดควรปฏิบัติดังนี้
                                                1) เมื่อจะสัมผัสหลอดฉายต้องใช้ผ้านุ่มๆรองมือก่อนจับหลอดฉายเสมอ
                                                2) ตรวจรูปลักษณะ ขนาด ฐานหลอด วัตต์ ให้เหมือนกับหลอดเดิม
                                                3) ใส่หลอดฉายให้แน่นกระชับ
                                                4) อย่าให้หลอดฉายกระเทือน
                                                5) ให้พัดลมเป่าหลอดฉายให้เย็นก่อนถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง
                1.2 แผ่นสะท้อนแสง (reflectors)
                                1.2.1 ลักษณะของแผ่นสะท้อนแสง แผ่นสะท้อนแสงส่วนมากทำด้วยโลหะฉาบผิวด้วยวัสดุสะท้อนแสง เช่น เงินหรือปรอท ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่า ตำแหน่งการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงมีหลายลักษณะต่างกัน เช่น ติดตั้งอยู่ภายในหลอด ติดตั้งไว้ภายนอกหลอด หรือติดเป็นครึ่งวงกลมครอบหลอด
เป็นต้น

                                                                หลอดฉาย
                                                   
 แผ่นสะท้อนแสง



ภาพแสดงตำแหน่งติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง
                                1.2.2 ข้อควรระวังเกี่ยวกับแผ่นสะท้อนแสง
                                                1) อย่าใช้มือจับแผ่นสะท้อนแสง
                                                2) อย่าให้แผ่นสะท้อนแสงมีรอยขีดข่วน
                                                3) ต้องใช้ผ้านุ่มๆเช็ดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเมื่อต้องการทำความสะอาด
                1.3 วัสดุฉาย (Projected Materials)
                วัสดุฉายเป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญญาลักษณ์ ต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ ได้แก่ ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส รูปภาพทึบแสง วัสดุฉายมีหลายชนิดดังนี้
                                1.3.1 วัสดุโปร่งใส (transparent materials) หมายถึงวัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเหหรือสะท้อนภายในวัสดุนั้นเลย เช่น แผ่นโปร่งใส พลาสติกใส กระจกใส กระดาษแก้วเป็นต้น
                                1.3.2 วัสดุโปร่งแสง (translucent materials) หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้ แต่จะเกิดการหักเหบ้าง ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดน้อยลง ตัวอย่างวัสดุประเภทนี้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษทาน้ำมัน กระดาไขเขียนแบบ เป็นต้น
                                1.3.3 วัสดุทึบแสง (opaque materials) หมายถึงวัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบจะสะท้อนกลับทั้งหมด เช่น กระดาษโรเนียว แผ่นโลหะ ไม้ หิน เสื้อผ้าหนาๆ แผ่นหนังสัตว์ ดินเหนียว
                1.4 เลนส์ (Lens)   
                เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือ พลาสติกใสมีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบเลนส์ทำให้ภาพถูกขยาย เลนส์ในเครื่องฉายมี 2 ชุด คือ เลนส์ควบแสง (condenser lens) และเลนส์ฉาย (projected lens)
                                1.4.1 เลนส์ควบแสง ทำหน้าที่เฉลี่ยความเข้มของแสงให้ตกบนวัสดุฉายอย่างสม่ำเสมอ ในชุดของเลนส์ควบแสงยังมีกระจกใสกรองความร้อน (heat filter) จากหลอดฉายป้องกันไม่ให้วัสดุฉายร้อนมากเกินไป
                                1.4.2 เลนส์ฉาย ทำหน้าที่ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เต็มจอ คุณสมบัติพิเศษ 2 ประการคือ การกลับหัวภาพ (inversion) และระยะโฟกัส (focus length) ที่จำกัด กล่าวคือเลนส์ฉายแต่ละตัวจะให้ภาพคมชัดในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น
                ภาพที่ฉายออกมาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ ระยะโฟกัสของเลนส์ฉาย และระยะทางระหว่างเครื่องฉายกับจอ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพที่ปรากฏจึงทำได้โดยการเปลี่ยนเลนส์ให้มีความยาวโฟกัสที่เหมาะสม และการเคลื่อนย้ายเครื่องฉายให้เข้าใกล้หรือออกห่างจากจอตามต้องการ
                1.5 จอ (Screen)
                                1.5.1 ชนิดของจอ จอเป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆจำแนกได้ 2 ชนิดใหญ่ๆคือ จอทึบแสง และจอโปร่งแสง
                                                1) จอทึบแสง (opaque screen) เป็นจอที่รับภาพจากด้านหน้า จอชนิดนี้จะฉาบผิวหน้าจอด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงต่างๆกัน ดังนี้
                - จอพื้นทรายแก้ว ผิวหน้าจอฉาบด้วยเม็ดแก้วละเอียด ทำให้สะท้อนแสงได้ดีมาก และได้ไกล จอชนิดนี้ จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องแคบๆ
                - จอผิวเรียบหรือจอผิวเกลี้ยง ผิวหน้าของมีสีขาวเรียบแต่ไม่เป็นมัน ให้แสงสะท้อนปานกลาง จอนี้จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัตหรือ ห้องเรียนทั่วๆไป สามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน
                - จอเงิน ทำด้วยพลาสติกหรืออลูมิเนียมใช้ในการฉายภาพสีและวัสดุ 3มิติ
                - จอเลนติคูล่า มีผิวจอทำด้วยพลาสติกที่เรียกว่า เฮฟวี่พลาสติก เหมาะกับห้องกว้างและขนาดใหญ่
                - จอเอ็คต้าไลท์ ทำด้วยโลหะหรือไฟเบอร์กลาส น้ำหนักเบา ผิวโค้ง สีมุกเป็นมันสะท้อนแสงได้ดี ใช้ในห้องที่มีแสงสว่างตามปกติได้ แต่ไม่เหมาะกับเครื่องฉายข้ามศีรษะ
                                                2) จอโปร่งแสง (translucent screen) เป็นจอที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง ฉายในห้องที่มีแสงสว่างปกติได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า จอฉายกลางวัน (day light screen) จอโปร่งแสงมี 2 ชนิด คือ
 - จอฉายสะท้อนกระจกเงา
- จอฉายภาพผ่านโดยตรง
                                                1.5.2 การติดตั้งจอ ลักษณะของภาพที่ปรากฏบนจอจะส่งผลต่อการรับรู้และเจตคติของผู้ชมการติดตั้งจอให้มีประสิทธิภาพควรยึดหลักดังนี้ คือ
                                                                1) ไม่ควรให้แสงสว่างผ่านเข้าด้านหลังจอโดยตรง
                                                                2) ขอบด้านล่างของจอควรอยู่ระดับสายตาของผู้ชม
                                                                3) จอกับเลนส์ควรอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากซึ่งกันและกันไม่สูงไม่ต่ำ ไม่
                                                           เยื้องซ้าย เยื้องขวา กับเครื่องฉาย
                                                1.5.3 ปัญหาการติดตั้งจอไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้รูปที่ปรากฏมีลักษณะบิดเบี้ยว สัดส่วนผิดแปลกจากธรรมชาติ
2) ตัวอย่างเครื่องฉาย
2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องมือที่ใช้กับผู้เรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในสถานศึกษาทั่วไป
ภาพแสดงเครื่องฉายข้ามศีรษะ
                                2.1.1 ส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ มี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนประกอบภายใน และส่วนประกอบภายนอก
                                                1) ส่วนประกอบภายนอก ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
                                - ตัวเครื่องฉาย มีลักษณะเป็นกล่อง ทำด้วยโลหะ ด้านบนเป็นแผ่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย มุมด้านบนสำหรับสำหรับติดตั้งหัวฉาย ด้านหลังมีสายไฟและสวิตช์ควบคุมการทำงาน
                                - แขนเครื่องฉายและหัวฉาย เป็นเสาประกบติดกับเครื่องฉาย มีไว้สำหรับยึดหัวฉายซึ่งสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ด้วยปุ่มหมุนที่มีแกนเป็นเฟือง
                                - อุปกรณ์การฉายพิเศษ เทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบวัตถุเคลื่อนไหว หรือ เรียกว่า โพลาไรซิ่ง ทรานส์พาเรนซี่ (polarizing transparency)
- แท่นวางวัสดุฉาย เป็นแผ่นกระจกใสวางในระนาบแนวนอนอยู่เหนือเลนส์ควบแสงหรือเลนส์เกลี่ยแสงซึ่งอยู่ในเครื่องฉาย
- เลนส์ฉาย เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉายทำหน้าที่ ขยายภาพตัวอักษรหรือวัสดุฉายอื่นๆ ให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏที่จอ
- กระจกเงาระนาบ เป็นกระจกเงาทำมุมเอียง 45องศา ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์เกลี่ยแสงสะท้อนเป็นมุม 90 องศา ผ่านเลนส์ฉายตรงไปที่จอ
                2) ส่วนประกอบภายใน ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
- หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ติดตั้งไว้ในเครื่องฉาย ซึ่งมักทั่วไปเป็นหลอด ฮาโลเจนหรือหลอดคว้อตไอโอดีน
- แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่ หักเหแสงออกทางด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปด้านหน้า ทำให้แสงมีความเข้มข้นมาก
- เลนส์เกลี่ยแสง เป็นกระจกหรือพลาสติกใสมีร่องขนาดเล็กเต็มทั่วแผ่นสะท้อนไปที่เลนส์ฉายต่อไป
                                - กระจกเงาสะท้อนแสง เป็นกระจกเงาติดตั้งไว่ภายในเครื่องฉาย เพื่อรับแสงจากหลอดฉาย
                                - พัดลม ทำหน้าที่ ระบายความร้อนให้กับหลอดฉาย เรียกว่า เทอร์โมสตัท (thermostat)
                2.2 เครื่องฉายสไลด์
                                เครื่องฉายสไลด์ เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือถ่ายทอดความรู้มาเป็นเวลานาน
                                2.2.1 ประเภทของเครื่องฉายสไลด์ มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
                                                1) เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา (manual slide projector) อาศัยการทำงานด้วยการควบคุมจากผู้ใช้งานตลอดเวลา มีทั้งเครื่องขนาดเล็กและเครื่องขนาดมาตรฐานทั่วไป
                                                2) เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ (automatic slide projector) เป็นเครื่องที่ออกแบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียงหรือเครื่องควบคุมการฉายได้
                                2.2.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์ทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบภายนอก และส่วนประกอบภายใน
                                                1) ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย ร่องใส่ถาดสไลด์ ปุ่มสวิตช์ปิด-เปิด ช่องเสียบสายไฟ และช่องใส่เลนส์
                                                2) ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย พัดลม สะพานไฟ
                                2.2.3 ประเภทของถาดบรรจุภาพสไลด์ ถาดใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะถูกออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องฉายโดยเฉพาะดังนี้
                                - ถาดสไลด์แบบเป็นราง (single slide carrier) ใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละไม่เกิน 2 ภาพ การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธี ดึงรางไปมาทิศทางซ้าย /ขวา รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก
                                - ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม (rectangular tray) มีลักษณะคล้ายแถวขนนปัง บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ 24 – 36ภาพ หรือมากกว่า การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้
                                - ถาดสไลด์แบบกลม (rotary tray) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80-140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว
                2.3 เครื่องฉายแอลซีดี
                                เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย ปัจจุบันเครื่องแอลซีดีมีขนาดเล็กลงมากน้ำหนักเบา แต่มีความละเอียดและแสงสว่างมากขึ้น ราคาถูกลงกว่าเดิมมาก



แสดงภาพเครื่องฉายแอลซีดี

                2.4 เครื่องดีแอลพี
                                เครื่องดีแอลพี (DLP : Digital Light Processing) กิดานันท์มลิทอง ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า ให้ความคมชัดมากถึง 1280x1024 จุด
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
            เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ หน้าที่ของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัญญาณและเสียง
                ประเภทของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
1.             เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualize หรือ Visual Presenter) เป็นเครื่องฉายแปลง ได้ทั้งภาพนิ่ง และ
ภาพเคลื่อนไหว หลักการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์คือ การแปลงสัญญาณภาพของวัตถุ




ภาพเครื่องวิชวลไลเซอร์ชนิดมีไฟส่องได้ทั้งซ้าย ขวา
ข้อดี      1) ใช้ในการฉายวัสดุได้ทั้งวัสดุทึบแสง วัสดุ 3 มิติ และวัสดุโปร่งใส
                2) ใช้กล้องเป็นโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสาธิตในห้องเรียนได้
                3) สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านได้อย่างทั่วถึง
                4) สามารถใช้กล้องตัวรองเป็นกล้องวีดีทัศน์เคลื่อนที่ได้
ข้อจำกัด1) เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง ไม่เหมาะกับสถานศึกษาที่มีงบประมาณน้อย
                2) การติดตั้งต้องใช้พ่วงกับเครื่องฉายอื่นๆ จึงจะเสนอภาพได้
                3) ต้องใช้ความระมัดระวังในการติดตั้งและการเก็บเครื่องอย่างดี
                2. เครื่องเล่นวีดีทัศน์ (Video Player) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเครื่องเล่นวิดีโอ เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณภาพและเสียงถ่ายทอดออกทางจอโทรทัศน์หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี เพื่อฉายภาพบนจอให้เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
                                2.1 ประเภทของเครื่องเล่นวีดีทัศน์ ปัจจุบันเครื่องเล่นวีดีทัศน์ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ามาก มีหลายรูปแบบซึ่งพอแบ่งอกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- แบบ U-Matic หรือ U-Vision เป็นเครื่องเล่นระดับกึ่งมืออาชีพ หรือใช้ในระดับสถาบันการศึกษาและในสถานีโทรทัศน์
- แบบ VHS (Video Home System) เป็นเครื่องเล่นที่ใช้คามบ้าน ราคาถูก บรรจุในตลับเทปที่สามารถเล่นได้นานแตกต่างกัน
- แบบ Betacam เป็นรูปแบบเฉพาะของบริษัทโซนี คุณภาพของภาพดี และมีขนาดตลับเล็กกว่าแบบVHS เล็กน้อย
- แบบ DV (Digital Videc) เป็นการบันทึกภาพและเสียงด้วยระบบดิจิตัลที่มีความคมชัดเหมือนต้นฉบับ เพราะไม่มีการสูญเสียสัญญาณระหว่างการบันทึกและตัดต่อ โดยการใช้สายฟายวาย ซึ่งเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณดิจิตัลกับดิจิตัลโดยตรง ปัจจุบันระบบดีวีกำลังได้รับความนิยมสูง
- แบบ Mini DV เป็นระบบการบันทึก และเล่นภาพและเสียงด้วยระบบดิจิตัลเหมือน กับแบบดีวี แต่มีขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กับกล้องดิจิตัลขนาดเล็ก
                                2.2 การติดตั้ง
                                                การติดตั้งเครื่องเล่นวีดีทัศน์ สามารถนำมาติดตั้งเชื่อมต่อเพื่อฉายภาพและเสียงกับอุปกรณ์ต่างๆได้ 3 ประเภท ได้แก่
                                                2.2.1 เครื่องรับโทรทัศน์ธรรมดา ที่ใช้กันตามบ้านโดยการต่อสาย video out กับ audio out จากเครื่องเล่นเทปวิดีทัศไปยังช่อง video in และ audio in
                                                2.2.2 จอมอนิเตอร์ เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณจากสายโดยตรง โดยมีสายสัญญาณภาพและสายสัญญาณเสียงอย่างละ 1 สาย
                                                2.2.3 เครื่องรับโทรทัศน์และมอนิเตอร์ เป็นเครื่องที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานในลักษณะเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์
ข้อดี      1) สะดวกในการใช้และการเก็บรักษาทั้งเครื่องเล่นวีดีทัศน์และตลับเทป
                2) สามารถดูภาพช้า-ภาพเร็ว และเดินหน้า-ถอยหลังเทปเพื่อดูซ้ำใหม่ได้
                3) สามารถบันทึกเนื้อหาใหม่ลงเทปเดิมได้หลายครั้ง
                4) สามารถใช้ในห้องที่แสงสว่างได้
                5) เครื่องเล่นและวีดีทัศน์และตลับเทปมีราคาไม่สูงมากนัก ทำให้สะดวกในการบันทึก เนื้อหาความรู้เพื่อนำมาใช้กับการสอน
ข้อจำกัด1) ขนาดของภาพที่ปรากฏบนจอมีขนาดเล็ก
                2) คุณภาพของเสียงอาจไม่ดีนัก
                3) ตัวอักษรมีขนาดเล็กไม่ค่อยคมชัดถ้าฉายบนจอขนาดเล็ก
                4) ภาพอาจไม่คมชัดเท่าที่ควร และหากเป็นรายการที่บันทึกมาจากเทปตลับอื่นก็ยิ่งให้ภาพที่คุณภาพด้อยลงกว่าเดิม
                3. เครื่องเล่นวีซีดี (VCD : Video Compact Disc)
                                เครื่องเล่นวีซีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดี ระบบดิจิตัล ที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงแบบภาพวีดีทัศน์ เพื่อเสนอทางภาพจอโทรทัศน์
ข้อดี      1) คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัดภาพจากแถบวีดีทัศน์
                2) ไม่มีการยืดเหมือนแถบวีดีทัศน์
                3) เครื่องเล่นวีซีดีสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีและวีซีดี
                4) ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น
ข้อจำกัด  การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นทำได้ไม่สะดวกเหมือนการบันทึกลงแถบวีดีทัศน์
                4. เครื่องเล่นดีวีดี (DVD player)
                                เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิตัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพวีดีทัศน์และเสียงเพื่อฉายบนจอโทรทัศน์
ข้อดี      1) คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์
                2) ให้เสียงดอลปีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากขึ้น
                3) สามารถเลือกชมตอนใดของภาพก็ได้ ไม่ต้องเรียงตามเนื้อหา
                4) ไม่มีการยืดของแผ่นบันทึกเหมือนแถบเทป
                5) หากเกิดความสกปรกบนแผ่นสามารถทำความสะอาดได้โดยง่าย
                6) เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดี แผ่นวีซีดี และแผ่นดีวีดี
ข้อจำกัด1) ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นได้ด้วยตนเองเหมือนการบันทึกลงแถบวีดีทัศน์
                2) แผ่นดีวีดีคุณภาพดียังมีราคาสูงพอควร
เครื่องเสียง
1.             แหล่งกำเนิดเสียง
เสียง (Sound) เกิดจาการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็น
คลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง (Sound Wave) เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหูก้จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือน
                                เสียงที่เราได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุ เสียงจากธรรมชาติ เป็นต้น
2.             ส่วนประกอบของการขยายเสียง
การขยายเสียงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของเสียงจากต้นกำเนิดเสียงที่มีเสียงเบาไม่สามารถรับฟังได้ในระยะไกล โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นเสียงไฟฟ้าความถี่ แล้วขยายให้มีกำลังมากขึ้นหลายๆเท่า หรือบันทึกเก็บไว้ เพื่อนำมาแปลงให้กลับเป็นคลื่นเสียงทีหลังอีกก็ได้ เครื่องมือที่ทำ หน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า เครื่องเสียง เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง  เป็นต้น
ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ
ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟน
ภาคขยายเสียง (Amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปยังลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก เครื่องขยายเสียง
ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง
3.             ไมโครโฟน (Microphone)
ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงโดยอาศัยหลักการง่ายๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน (Diaphragm) ทำให้แผ่นสั่นสะเทือนสั่นความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณ จาการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที
3.1      ประเภทของไมโครโฟน
เราสามารถจำแนกของไมโครโฟนได้ 2 รูปแบบ คือ จำแนกตามลักษณะทิศทางของ
การรับเสียง และจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟน
3.1.1                   การจำแนกลักษณะทิศทางของการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4ชนิด คือ
1)            Omni Directional Microphone เป็นไมโครโฟนที่มีมุมรับเสียงได้รอบทิศทาง (360 องศา)
2)            Unidirectional Microphone สามารถรับเสียงได้จากทางด้านหน้าทิศทางเดียว โดยมุมรับไม่เกิน 180 องศา
3)            Cardioids Microphone เสียงได้ด้านหน้าทิศทางเดียวโดยบริเวณรับเสียงมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
4)            Bidirectional Microphone รับเสียงได้เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลัง โดยมุมรับแต่ละข้างไม่เกิน 60 องศา
3.1.2                   ไมโครโฟนจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำมี 6 ชนิด
1)            Carbon Microphone ใช้ผงถ่านเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีคุณภาพต่ำ ความไวเสียงน้อย ปัจจุบันใช้กับเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น
2)            Crystal Microphone ใช้ผลึกของเกลือเป็นตัวเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวน้อยไม่ทนทานต่อความร้อนและความชื้น
3)            Ceramic Microphone มีหลักการเดียวกับ Crystal Microphone แต่เปลี่ยนวัสดุเซรามิคแทน ทำให้ทนต่อความร้อนและความชื้นได้ดีกว่า
4)            Condenser Microphone มีหลักการคือแผ่น Diaphragm สั่นสะเทือน จะทำให้ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวในการรับเสียงดี ขนาดเล็ก และราคาไม่แพง จึงนิยมนำมาใช้ในเครื่องเสียงทั่วๆไป
5)            Ribbon Microphone ใช้แผ่นริบบิ้นอลูมิเนียมบางๆเป็นตัวสร้างสัญญาณไฟฟ้าทำให้มีคุณภาพเสียงดีมาก แต่มีจุดอ่อนที่ค่อนข้างบอบบาง ไม่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนย้ายและมีราคาแพง จึงใช้ในห้องบันทึกเสียงใหญ่ๆ เท่านั้น
6)            Dynamic Microphone ใช้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กถาวรเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำเหมือนการทำงานของลำโพง ไมโครโฟนชนิดนี้ในคุณภาพรับเสียงดีแข็งแรงทนทาน มีตั้งแต่ราคาถูกถึงราคาแพง จึงนิยมใช้กันทั่วๆไป

3.2      อิมพีแดนซ์ (Impedance) ของไมโครโฟน
อิมพีแดนซ์ หมายถึงความต้านทานที่เกิดขึ้นขณะมีสัญญาณหรือกระแสสลับไหลผ่านมี
หน่วยเป็นโอห์ม ค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนมี 2 พวกคือ
3.2.1                   High Impedance เป็นค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนชนิดผลึกและเซรามิค ซึ่งเป็นพวกที่มีราคาถูกตอบสนองต่อความถี่ไม่ดี ถ้าใช้สายยาวเกิน 25ฟุต จะมีเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมได้ง่าย
3.2.2                   Low Impedance เป็นค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนทั่วๆไป สามารถใช้สายยาวได้นับร้อยฟุตโดยไม่มีเสียงฮัม ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี เหมาะที่จะใช้กับเครื่องขยายเสียงแบบทรานซิสเตอร์
3.3      การใช้ไมโครโฟน
3.3.1                   ควรพูดตรงด้านหน้าของไมโครโฟนให้ปากอยู่ห่าง ประมาณ 6-12นิ้ว
3.3.2                   การทดลองไมโครโฟนไม่ควรใช้วิธีเป่าหรือเคาะให้พูดออกไปได้เลย
3.3.3                   ควรจับไมโครโฟนให้มั่นคงและนิ่งไม่ควรแกว่งไปมาหรือบิดสาย
3.3.4                   เมื่อติดตั้งไมโครโฟนกับขาตั้ง ควรวางขาตั้งบนผ้าปูโต๊ะหรือวัสดุนุ่มๆ
3.3.5                   การใช้ไมโครโฟนในบริเวณที่มีลมพัดควรใช้ Wind Screen หรือผ้านุ่มๆ หุ้มรอบไมโครโฟน เพื่อลดเสียงลมให้น้อยลง
3.3.6                   ควรเลือกไมโครโฟนให้เหมาะกับงาน โดยพิจารณาทิศทางการรับเสียงความไวของไมโครโฟนและลักษณะการใช้งาน
3.3.7                   เลือกใช้ไมโครโฟนที่ค่า Impedance เหมาะกับเครื่องขยายเสียง ถ้าเป็นไมโครโฟนชนิด High Impedance ไม่ควรใช้สายยาวเพราะจะทำให้มีเสียงรบกวน
3.3.8                   อย่าให้ไมโครโฟนตกหรือกระทบกระแทก อย่าให้ถูกฝนและฝุ่น เมื่อใช้แล้วเช็ดทำความสะอาดและเก็บในกล่องให้มิดชิดทุกครั้ง


4.             เครื่องขยายเสียง (Amplifier)
เครื่องขยายเสียงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อ
ส่งออกไปยังลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา กำลังขยายของเครื่องขยายเสียงเรียกเป็น วัตต์ (Watts)
                                4.1 การทำงานของเครื่องขยายเสียง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
                                                4.1.1 Pre-Amplifier and Tone Control เป็นส่วนที่รับสัญญาณจาก Input Signal จากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง ฯลฯ มาปรับแต่งความสมดุล เพื่อเตรียมการขยายให้มีกำลังมากขึ้น เครื่องขยายเสียงส่วนนี้จะมีช่องเสียงเพื่อรับสัญญาณเข้า (Input Terminal) ดังนี้
                                - Microphone (Mic.) อาจมีมากกว่า 1 ช่องก็ได้
                                - Phonograph (Phone) เป็นช่องนำสัญญาณจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง
                                - Tape เป็นช่องนำสัญญาณจากเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง
                                - Auxiliary (Aux.) เป็นช่องนำสัญญาณชนิดแรงจากภาครับวิทยุ เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง หรือแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ที่ช่องเสียบสัญญาณเข้า
                นอกจากนี้โดยปกติด้านหน้าของเครื่องขยายเสียงจะมีปุ่มต่างๆไว้ควบคุมสัญญาณที่รับเข้ามาทางช่อง Input Signal ดังนี้
-                   Selector or Function Switch สำหรับเลือกสัญญาณที่จะนำมาขยายมักจะมีในเครื่อง ขยายเสียงที่ทำช่องนำสัญญาณเข้าไว้เพียงช่องเดียว
-                   Bass สำหรับปรับเสียงทุ้ม
-                   Treble สำหรับปรับเสียงแหลม
-                   Filter เป็นสวิทซ์กรองเสียง เพื่อตัดเสียงรบกวนทั้งความถี่สูง และความถี่ต่ำมาก
-                   Loudness เป็นสวิทซ์เปิดชดเชยสำหรับเสียงสูงและเสียงต่ำ ขณะเปิดเครื่องเบาๆ
4.1.2  Power Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ปรับแต่งและขยายขึ้นต้น จาก
Pre-Amplifier แล้วให้มีกำลังขยายเพิ่มขึ้นเพื่อส่งไปยังลำโพง
                                4.2 ชนิดของเครื่องขยายเสียง
                                                เครื่องขยายเสียงพอจำแนกได้ 4 ชนิด คือ
                                                4.2.1 เครื่องขยายเสียงหลอด เป็นเครื่องขยายเสียงแบบแรกที่สร้างขึ้นมาใช้ในการขยายเสียงให้มีเสียงดังมากๆ มีข้อดีที่บำรุงรักษาง่าย ทนทาน เสียงไม่ผิดเพี้ยน แต่มีข้อเสียที่ขนาดใหญ่ กินไฟมาก ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย
                                                4.2.2 เครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์ เป็นเครื่องขยายที่พัฒนามาใช้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายเสียงแทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียคือ ไม่ทนทาน เสียงจะเพี้ยนเมื่อเครื่องร้อนมาก
                                                4.2.3 เครื่องขยายเสียงแบบผสม เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรผสมของหลอดสุญญากาศทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และทำให้มีคุณภาพดีขึ้น
                                                4.2.4 เครื่องขยายเสียงแบบไฮบริดจ์  ไอ.ซี. เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรสำเร็จรูป ทำให้มีขนาดกะทัดรัด ดูแลรักษาง่าย แต่ค่อนข้างบอบบางกว่าแบบอื่นๆ และมีกำลังขยายไม่มากนัก
                                4.3 ระบบของเครื่องขยายเสียง
                                                เครื่องขยายเสียงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ
                                                4.3.1 ระบบโมโน เป็นเครื่องขยายเสียงเครื่องเดียวที่หน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงหลายๆ ชนิดรวมกันแล้วส่งไปออกที่ลำโพงตัวเดียว การขยายเสียงในระบบนี้อาจทำให้เสียงหักลบกันจนขาดความไพเราะหรือผิดเพี้ยนจากต้นเสียงเดิม
                                                4.3.2 ระบบสเตริโอ เป็นระบบการขยายเสียงที่ใช้เครื่องขยายเสียงมากกว่าหนึ่งเครื่องไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงที่ต่างกันหลายๆแห่งเครื่องขยายเสียงระบบสเตริโอที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นแบบสเตริโอ 2 ทิศทาง คือมีเครื่องขยายเสียง 2 เครื่องอยู่ในชุดเดียวกันมีส่วนรับสัญญาณเข้าเป็นคู่ๆ นำไปขยายในเครื่องชุดที่ 1 และชุดที่ 2 แล้วส่งออกลำโพงชุดละตู้


                                4.4 การใช้เครื่องขยายเสียง
                                                การใช้เครื่องขยายเสียงในการเรียนการสอนหรือการบรรยายในที่สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้
                                                4.4.1 ตรวจให้แน่ชัดว่าเครื่องขยายเสียงนั้นใช้กับไฟชนิด AC หรือ DCกี่โวลต์
                                                4.4.2 ก่อนเปิดสวิตช์ให้ต่อวงจร input และoutput ที่ให้ค่าความต้านทานพอดีไมโครโฟนและลำโพง แล้วลดปุ่มควบคุมความดังของเสียงให้ต่ำสุด
                                                4.4.3 ถ้าเป็นเครื่องชนิดหลอด ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่อง 1-3นาที ให้หลอดร้อนพอที่จะทำงานได้ก่อน และควรใช้พัดลมเป่าระบายความร้อนให้กับเครื่องด้วย
                                                4.4.4 เลือกสัญญาณ input ให้เหมาะกับชนิดของแหล่งสัญญาณ
                                                4.4.5 กำลังการขยาย (Watts) ของลำโพงทุกตัวรวมกันต้องเท่าหรือใกล้เคียงกับกำลังของเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องขยายเสียง 50 W. ใช้กำลังลำโพงตัวละ 10 W. ได้ไม่เกิน 5 ตัว
                                                4.4.6 ควบคุมความดังไม่ให้มากจนน่ารำคาญหรือเสียงแตกพร่า หรือเสียงเบาจนฟังไม่ชัดแล้วปรับแต่งเสียงทุ้มแหลมให้ได้คุณภาพเสียงดีที่สุด
                                                4.4.7 ควรต่อสายดินจากแท่นเครื่องลงดิน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และตัดสัญญาณรบกวนต่างๆให้น้อย
                5. ลำโพง (Speaker)
                                ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก ซึ้งทำงานโดยใช้วิธีการเหนียวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเสียงของลำโพง จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กในขดลวด อำนาจแม่เหล็กจะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ติดอยู่ในลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า ทำให้อากาศด้านหน้ากรวยสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้น
                                5.1 ประเภทของลำโพง
                                                ลำโพงจำแนกตามสมบัติในเปล่งเสียงมี 4 ประเภท คือ
                                                5.1.1 ลำโพงเสียงทุ้มเป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงต่ำๆประมาณ 30-500 Hz มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยลำโพง 10 นิ้วขึ้นไป
                                                5.1.2 ลำโพงเสียงกลาง เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงปานกลางประมาณ 500-8000 Hz ลำโพงประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องเสียงที่ไม่ต้องการคุณภาพนัก
                                                5.1.3 ลำโพงเสียงแหลม เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงสูงประมาณ 10 – 20 KHz มีขนาดเล็ก
                                                5.1.4 ลำโพงกรวยซ้อน เป็นลำโพงที่ออกแบบพิเศษ โดยทำกรวยลำโพงซ้อนกัน 2-3ชั้น เพื่อในสามารถเปล่งเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันได้มากขึ้นในลำโพงตัวเดียว
                                5.2 การใช้ลำโพง
                                การใช้ลำโพงให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีในการใช้งานอยู่เสมอ ควรมีวิธีดังนี้
                                5.2.1 ต้องให้ค่าความต้านทานรวมของลำโพงเท่า หรือใกล้เคียงกับค่าความด้านทานของช่องสัญญาณออก
                                5.2.2 ให้ค่ากำลังขยายของลำโพงเท่าหรือใกล้เคียงกับกำลังของเครื่องขยายเสียง
                                5.2.3 อย่าเอาลำโพงไว้ด้านหน้าของไมโครโฟน เพราะจะทำให้เกิดเสียงหวีดหอนได้
                                5.2.4 อย่าวางลำโพงให้สูงในระดับเดียวกับหูผู้ฟัง ถ้ามีลำโพงตัวเดียวควรวางตรงกลางด้านหลังห้อง ถ้ามีสองตัวให้แยกไว้คนละมุมห้อง
                                5.2.5 การต่อลำโพงหลายตัวต้องคำนวณหาค่า Impedance รวมของลำโพงทุกตัวเพื่อจะได้ต่อกับ Output ของเครื่องขยายได้ถูกต้อง
                                5.2.6 ต้องต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงให้เรียบร้อยก่อนเปิดเครื่องทุกครั้ง
                                5.2.7 สายลำโพงสามารถใช้ไฟธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าต้องใช้สายยาวควรเลือกเส้นที่มีขนาดใหญ่เพื่อป้องกันการสูญเสียของสัญญาณ
                                5.2.8 อย่าให้ลำโพงตกหรือกระแทก
สรุป
                สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือโสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่หลักคือ ใช้เนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และขยายเสียงให้ดังขึ้น จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง
                เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายดีวีดี เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องฉายได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
                เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง ต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายหรือเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และเครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น
                เครื่องเสียงมีหน้าที่รับเสียง ขยายเสียง และส่งออก ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียง ภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพง